จากข้อมูลน้ำท่วมในพื้นที่ภาคกลาง กรุงเทพฯ และปริมณฑล สามารถจัดกลุ่มความ เสี่ยงน้ำท่วมได้เป็น 3 ประเภท คือ
1.น้ำท่วมเมืองหรือน้ำรอการระบาย จากฝนตกหนักในเมืองมากเกินกว่าความสามารถระบบระบายน้ำ
2.น้ำล้นจากฝั่งแม่น้ำ จากปริมาณฝนตกหนักเกินความจุลำน้ำ ทำให้น้ำล้นฝั่งเข้าท่วมชุมชน
3.น้ำท่วมชายฝั่งชุมชนหรือเมืองที่อยู่ริมชายฝั่งทะเล เมื่อต้องเผชิญกับระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น
ทั้งนี้ กรุงเทพมีระดับความสูงเฉลี่ย 1.5 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลบวกกับมีการทรุดตัวของดินในอัตรา 30 มม./ปี(บางวิจัยบอก 10-20 มม./ปีหลังมีมาตการห้ามขุดเจาะน้ำบาดาล) ปัจจุบันการทรุดตัวของดินกรุงเทพมหานครเริ่มชะลอตัวลง แต่จากการปัญหาดินทรุดที่สะสมมานาน ทำให้บางส่วนของเมืองอยู่ต่ำกว่า ระดับน้ำทะเล 1 เมตร ซึ่งหากเกิดฝนตกหนัก เกิดพายุโซนร้อน หรือมีน้ำทะเลหนุนสูง จนไม่สามารถระบายน้ำได้ทันท่วงทีก็จะทำให้เกิดน้ำท่วมได้ในขณะที่ระดับน้ำทะเลในอ่าวไทย เพิ่มขึ้น เฉลี่ยปีละ 3 มม. (อุณหภูมิสูงขึ้นเฉลี่ย 1.5 องศาเซลเซียส ทำให้น้ำทะเลหนุนสูงขึ้นมากกว่า 1 เมตร) โดยที่คาดว่าระดับน้ำทะเลอ่าวไทย จะมีอัตราสูงขึ้น ประมาณ 1-1.5 ม.
ตอนนี้กรุงเทพฯ โดยเฉพาะพื้นที่ชั้นใน มีการทรุดตัวน้อยมาก เนื่องจากไม่ได้มีการสูบน้ำบาดาลมาใช้น้ำทะเลสูงขึ้นจริงในปัจจุบัน แต่ก็ยังอยู่ในอัตราการเพิ่มที่ป้องกันได้
AFNC ตรวจสอบให้แล้ว ข่าวนี้บิดเบือน