จำนวนผู้เข้าชม 29,205,852

ข่าวปลอม อย่าแชร์! การเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับมากกว่า 5 ครั้ง ใน 1 ชั่วโมง เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจเต้นผิดจังหวะ และสมองเสื่อม

ตามที่มีข้อมูลสุขภาพเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับมากกว่า 5 ครั้ง ใน 1 ชั่วโมง เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจเต้นผิดจังหวะ และสมองเสื่อม ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กรณีที่มีผู้โพสต์บทความในโซเชียลโดยระบุว่าการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับมากกว่า 5 ครั้ง ใน 1 ชั่วโมง เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจเต้นผิดจังหวะ และสมองเสื่อม ทางสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าเกณฑ์การวินิจฉัยภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ประกอบด้วยอาการของผู้ป่วยในข้อ ก ร่วมกับผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการในข้อ ข หรือผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการในข้อ ค เพียงข้อเดียว

ก. ข้อใดข้อหนึ่งจากข้อต่อไปนี้

  1. รู้สึกง่วงนอนผิดปกติในเวลากลางวัน รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่สดชื่นหลังตื่นนอน หรือนอนไม่หลับ
  2. ตื่นกลางคืนจากการหยุดหายใจ สำลัก หายใจไม่ออกหรือต้องหายใจเฮือก
  3. มีผู้สังเกตว่าในขณะหลับมีนอนกรนเสียงดังเป็นประจำ หรือพบการหายใจสะดุด
  4. มีโรคประจำตัวดังนี้ โรคความดันโลหิตสูง ความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) มีปัญหาความจำ โรคเส้นเลือดหัวใจโรคเส้นเลือดสมอง ภาวะหัวใจวาย ภาวะหัวใจสั่นพริ้ว โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ข. ผลตรวจการนอนหลับ

  1. มีดัชนีการหยุดหายใจและหายใจแผ่ว (Apnea-Hypopnea Index, AHI) หรือดัชนีการหายใจถูกรบกวน (Respiratory Disturbance Index, RDI) อย่างน้อย 5 ครั้ง/ชม.
  2. ส่วนใหญ่ของการหายใจผิดปกติเป็นชนิดอุดกั้น

ค. ผลตรวจการนอนหลับ

  1. มีดัชนีการหยุดหายใจและหายใจแผ่ว หรือดัชนีการหายใจถูกรบกวน อย่างน้อย 15 ครั้ง/ชม.
  2. ส่วนใหญ่ของการหายใจผิดปกติเป็นชนิดอุดกั้น

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือดต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง (hypertension) โรคเส้นเลือดหัวใจ (coronary artery disease) ภาวะหัวใจวาย (congestive heart failure) ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (arrhythmia) โรคเส้นเลือดสมอง (stroke) ภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง (pulmonary hypertension) รวมไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงทางระบบเมตะบอลิกส์ เช่น กลุ่มอาการอ้วนลงพุง (metabolic syndrome) เป็นต้น

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.ccit.go.th/ หรือโทร 02-547-0999

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ประกอบด้วยอาการของผู้ป่วยในข้อ ก ร่วมกับผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการในข้อ ข หรือผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการในข้อ ค เพียงข้อเดียว

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด