จำนวนผู้เข้าชม 29,208,375

ลูกแรงงานต่างด้าว มีสิทธิ์ขอสัญชาติไทย?

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับลูกต่างด้าวเกิดในไทย แห่ขอสัญชาตินั้น มีการบิดเบือนข้อมูล เนื่องจาก มติครม. เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2559 เป็นการปรับแก้หลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ปัญหาให้มีขั้นตอนและระยะเวลาใหม่ให้มีประสิทธิภาพ มากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามระเบียบและกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ก่อนแล้ว มิได้เป็นการยกเว้นการดำเนินการตามข้อกฎหมายเดิมที่มีอยู่ และมิได้เป็นการให้สัญชาติไทยแก่แรงงานต่างด้าว หรือคนต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมือง 

สำหรับมติ ครม. เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2567 เห็นชอบหลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติ และสถานะบุคคลให้แก่บุคคลเป้าหมาย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

  1. กลุ่มบุคคลอพยพเข้ามาในประเทศไทยเป็นเวลา (ต้องเข้ามาก่อนปี พ.ศ.2542) ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่กระทรวงมหาดไทยได้สำรวจจัดทำทะเบียนประวัติไว้แล้วในอดีตถึงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527-2542 และสำรวจเพิ่มเติมปี พ.ศ. 2548-2554 แล้วเท่านั้น อาทิ ชนกลุ่มน้อย/กลุ่มชาติพันธุ์ เช่น บุคคลบนพื้นที่สูง ชุมชนบนพื้นที่สูง ฯลฯ จำนวน 340,101 ราย ให้ขอมีสถานะคนต่างด้าว เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย (มีถิ่นที่อยู่ถาวร) ครบ 5 ปี จึงจะสามารถขอแปลงสัญชาติเป็นไทยได้

 

  1. กลุ่มบุตรของบุคคลตามข้อ (1) ที่เกิดในประเทศไทย (ไม่รวมบุตรคนต่างด้าวอื่น ๆ เช่นแรงงานต่างด้าว ผู้หลบหนีเข้าเมือง ฯลฯ) จำนวน 143,525 ราย ให้ขอมีสัญชาติไทยได้  โดยมติ ครม. ดังกล่าว ใช้แทนหลักเกณฑ์เดิม ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 

ลูกแรงงานต่างด้าว มีสิทธิ์ขอสัญชาติไทย

ทั้งนี้ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการแก้ไขประกาศ กระทรวงมหาดไทยซึ่งยังไม่ได้เปิดให้ยื่นคำขอตาม มติ ครม. ดังกล่าวแต่อย่างใด

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด