จำนวนผู้เข้าชม 29,387,714

ข่าวปลอม อย่าแชร์! บริษัทมีสิทธิพิจารณาไม่รับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าทำงาน หรือไม่ทำสัญญาจ้าง

ตามที่มีข้อมูลถูกแชร์ในสื่อออนไลน์เรื่องบริษัทมีสิทธิพิจารณาไม่รับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าทำงาน หรือไม่ทำสัญญาจ้างนั้น ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กรณีที่มีการประกาศเกี่ยวกับบริษัทมีสิทธิพิจารณาไม่รับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าทำงาน หรือไม่ตกลงทำสัญญาจ้างแรงงาน ทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและชี้แจงว่า พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ระบุว่า นายจ้างสามารถกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข คุณสมบัติ ในการพิจารณารับลูกจ้างเข้าทำงาน รวมทั้งกำหนดกฎระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานได้ โดยต้องไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน

ซึ่งตามกฎหมายมาตรา 150 กรณีลูกจ้างมีอาการเจ็บ ป่วย ลูกจ้างย่อมมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง โดยนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาป่วยเท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา  แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกิน 30 วันทำงาน หรือตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน

ตามมาตรา 32 ประกอบมาตรา 57 แห่ง พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กรณีลูกจ้างมีอาการเจ็บ ป่วย จนไม่สามารถทำงานได้ หากนายจ้างจะพิจารณาเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าว ซึ่งเหตุแห่งการเจ็บ ป่วย จนไม่สามารถทำงานได้ ไม่เข้าข้อยกเว้นที่นายจ้างจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้ตามมาตรา 119 แห่ง พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หากนายจ้างจะเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าว นายจ้างมีหน้าที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้ถูกต้อง และจ่ายค่าชดเชยตามอัตราที่กฎหมายกำหนดตามมาตรา 17, มาตรา 17/1 และมาตรา 118 แห่ง พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

กล่าวคือ การรับลูกจ้างเข้าทำงาน นายจ้างสามารถกำหนดกฎเกณฑ์ หรือคุณสมบัติต่าง ๆ ในการพิจารณาได้ โดยต้องไม่ขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

website 2787

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สามารถติดตามได้ที่ www.labour.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 กด 3 หรือ 1546

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การรับลูกจ้างเข้าทำงาน นายจ้างสามารถกำหนดกฎเกณฑ์ในการพิจารณาได้ โดยต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แต่หากลูกจ้างป่วยจนไม่สามารถทำงานได้ นายจ้างต้องบอกล่วงหน้าให้ถูกต้อง และจ่ายค่าชดเชยตามอัตรา ม.17, ม.17/1 และ ม.118

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด