จำนวนผู้เข้าชม 29,227,985
ข่าวบิดเบือน
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ข่าวบิดเบือน อาการคันตามผิวหนังเกิดจากเลือดข้นหนืด เลือดเสียในร่างกาย

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อออนไลน์เรื่องอาการคันตามผิวหนังเกิดจากเลือดข้นหนืด เลือดเสียในร่างกาย ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน

กรณีที่มีผู้โพสต์ให้ข้อมูลทั่วสื่อออนไลน์ว่า อาการคันตามผิวหนังเกิดจากเลือดข้นหนืด เลือดเสียในร่างกาย ทางสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ภาวะเลือดข้นหนืด (Polycythemia vera) สามารถวินิจฉัยได้จากการเจาะเลือดตรวจ ส่วนความเข้มข้นของเลือด (Complete blood count) เกิดจากการที่ร่างกายมีปริมาณน้ำในเลือดหรือพลาสมาลดลง เช่น น้ำหนักตัวเกิน การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก ๆ

นอกจากนั้น อาจเกิดจากภาวะร่างกายขาดน้ำ หรือสูญเสียน้ำมากเกินไป เช่น กรณีใช้ยาขับปัสสาวะ อีกทั้ง ภาวะนี้อาจเกิดจากความผิดปกติของการสร้างส่วนประกอบของเลือดในไขกระดูกทำให้มีเซลล์ที่มากเกินกว่าปกติ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาสาเหตุและรักษาตามสาเหตุ

อย่างไรก็ตาม ภาวะเลือดข้นหนืดในทางผิวหนังสามารถทำให้เกิดอาการทางคลินิก เช่น อาการคันตามตัว แต่ไม่ได้คันเฉพาะเวลาอาการคันกลางคืน อาจเนื่องจากเป็นเวลาที่ไม่มีสิ่งเร้าภายนอกเหมือนกลางวันที่มีสิ่งที่ต้องทำ จนทำให้ไม่สนใจว่าอาการคันสำคัญ ผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดข้นจะมีอาการหน้าแดง (Flushing) หรือมีภาวะมือแดงซึ่งอาจมีอาการปวดร่วมด้วย (Erythromelalgia) ได้เช่นกัน

ทั้งนี้ ภาวะนี้อาจมีอาการทางผิวหนังที่แสดงเป็นแผลที่ผิวหนัง ซึ่งเกิดจากการอักเสบเรียกว่า Pyoderma gangrenosum เป็นแผลอักเสบเรื้อรังซึ่งต้องใช้การตัดชิ้นเนื้อเพื่อสนับสนุนการวินิจฉัย

website stamp 3806

ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ https://www.iod.go.th/ หรือโทร 02 5906000

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ภาวะเลือดข้นหนืด สามารถทำให้เกิดอาการคันตามตัว แต่ไม่ได้คันเฉพาะเวลา และผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดข้นจะมีอาการหน้าแดง (Flushing) หรือ มีภาวะมือแดง ซึ่งอาจมีอาการปวดร่วมด้วย (Erythromelalgia) ได้เช่นกัน

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด