จำนวนผู้เข้าชม 29,209,284

ไข้อีดำอีแดง มีอาการฝ้าขาวปกคลุมลิ้น และตุ่มรับรสโตผิดปกติ

ไข้อีดำอีแดง (Scarlet Fever) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus Group A และพบได้บ่อยในเด็กอายุ 5-15 ปี อาการเด่นของโรค ได้แก่ ไข้สูง เจ็บคอ ผื่นแดง และอาการ “ลิ้นสตรอว์เบอร์รี” ซึ่งลิ้นมีตุ่มรับรสที่โตขึ้นและเปลี่ยนเป็นสีแดง อย่างไรก็ตาม ไข้อีดำอีแดง สามารถเกิดขึ้นได้เป็นปกติในบางพื้นที่ โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวหรือเมื่อติดเชื้อ Streptococcus และอาการ “ลิ้นสตรอว์เบอร์รี” อาจพบได้ในโรคอื่น เช่น โรคคาวาซากิ (Kawasaki disease) ไม่ใช่อาการเฉพาะของไข้อีดำอีแดงเท่านั้น

โรคไข้อีดำอีแดงติดผ่านทางละอองฝอยจากการจาม การสัมผัสน้ำลาย น้ำมูก หรือเสมหะของผู้ติดเชื้อ หรือการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน ขอให้ผู้ปกครองป้องกันบุตรหลานจากโรคด้วยการดูแลสุขภาพบุตรหลาน รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล สวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องเข้าไปในที่ที่มีคนรวมตัวกันจำนวนมาก ล้างมือด้วยน้ำ
สะอาดและสบู่ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์บ่อย ๆ

ไข้อีดำอีแดง

สำหรับปี พ.ศ. 2568 ข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังโรคดิจิทัล (DDS) ตั้งแต่วันที่
1 มกราคม จนถึง 11 กุมภาพันธ์ 2568 พบผู้ป่วยสะสม 128 ราย อัตราป่วย 0.20 ต่อประชากรแสนคน ไม่พบผู้เสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ กลุ่มอายุ 5-9 ปี(ร้อยละ 66.41) รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 0-4 ปี (ร้อยละ 22.66) และ กลุ่มอายุ 10-14 ปี (ร้อยละ 9.38) ตามลำดับ และจากโปรแกรมตรวจสอบข่าวการระบาด กรมควบคุมโรค พบผู้ป่วยสงสัยโรคไข้อีดำอีแดงเป็นกลุ่มก้อน ในเดือนมกราคม 1 เหตุการณ์ในสถานสงเคราะห์เด็ก ปัจจุบันแนวโน้มการเกิดโรคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลังในช่วงระยะเวลาเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการแพร่กระจายเป็นวงกว้าง

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด