Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

จำนวนผู้เข้าชม 29,125,807
ข่าวบิดเบือน
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ข่าวบิดเบือน เล่นโทรศัพท์ก่อนนอน เสี่ยงสมองเสื่อมเบลอ หลับยาก เพราะแสงสีฟ้าทำลายเมลาโทนิน

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในเรื่องเล่นโทรศัพท์ก่อนนอน เสี่ยงสมองเสื่อมเบลอ หลับยาก เพราะแสงสีฟ้าทำลายเมลาโทนิน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน

กรณีที่มีผู้โพสต์ข้อความบนโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับการเล่นโทรศัพท์ก่อนนอน เสี่ยงสมองเสื่อมเบลอ หลับยาก เพราะแสงสีฟ้าทำลายเมลาโทนิน ทางสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า แสงไม่ว่า คลื่นความถี่ใด มีผลกับการควบคุม circadian rhythm หรือที่นิยมเรียกกันว่า
นาฬิกาชีวิต โดยความมืดทำให้ต่อมไพเนียลผลิตเมลาโทนิน และแสงสว่างทำให้
ผลิตเมลาโทนินน้อยลง การศึกษาในอดีตพบว่า แสงสีฟ้าเป็นแสงที่มีช่วงความถี่ที่มีผลลดการหลั่งเมลาโทนินมากกว่าแสงสีอื่น ซึ่งแหล่งแสงสีฟ้าที่สำคัญ เช่น smart phone, tablet, โทรทัศน์ แสงจากหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ แสงจากหลอดไฟ LED และจอคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลที่บ่งชี้ว่า การเล่นโทรศัพท์ก่อนนอน หรือแสงสีฟ้าทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม

เล่นโทรศัพท์ก่อนนอน เสี่ยงสมองเสื่อมเบลอ

ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และสามารถติดตามข่าวสารของสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ที่เว็บไซต์ www.pni.go.th หรือโทร. 02-306-9899

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ความมืดทำให้ต่อมไพเนียลผลิตเมลาโทนิน และแสงสว่างทำให้ผลิตเมลาโทนินน้อยลง ซึ่งแสงสีฟ้าจากโทรศัพท์ โทรทัศน์ จอคอมพิวเตอร์ เป็นแสงที่มีช่วงความถี่ที่มีผลลดการหลั่งเมลาโทนินมากกว่าแสงสีอื่น แต่ยังไม่มีข้อมูลที่บ่งชี้ว่า การเล่นโทรศัพท์ก่อนนอน หรือแสงสีฟ้าทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด