Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

จำนวนผู้เข้าชม 29,147,448

ข่าวบิดเบือน นายจ้างไลน์ อีเมล์ โทร หรือแชทนอกเวลางาน ต้องจ่ายค่าล่วงเวลา

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเรื่องนายจ้างไลน์ อีเมล์ โทร หรือแชทนอกเวลางาน ต้องจ่ายค่าล่วงเวลา ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน

จากกรณีมีการแชร์ข้อความบนสื่ออนไลน์ว่าเปิดกฎหมายแรงงานก่อนถึง ‘วันแรงงาน’ รู้หรือไม่ หากนายจ้างไลน์ อีเมลล์ โทร หรือ แชททั้งวันทั้งคืนนอกเวลางาน ต้องจ่ายค่าล่วงเวลา (OT) ให้เรา ขณะอยู่ในวันหยุดต้องจ่ายค่าทำงานเพิ่ม 3 เท่า โดยลูกจ้างสามารถเก็บหลักฐานเรียกร้องทางกฎหมายได้ ทางสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ต้องดูเนื้อหาข้อความที่สั่งมาว่าเป็นอย่างไร ประกอบด้วยจะเหมาว่าทั้งหมดคือการสั่งทำงานไม่ได้ เช่น นายจ้างโทรมาคุยไม่นานเพื่อสั่งงานของวันถัดไป หรือไลน์มาแต่ไม่ได้สั่งให้ทำงานในวันนั้น ๆ จะไม่ถือว่าเป็นการสั่งงาน ในทางกลับกันหากโทรมาสั่งงานและให้ทำให้เสร็จในวันนั้นเลย จะถือเป็นการให้ทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด ทั้งนี้ ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง หากลูกจ้างไม่ยินยอมสามารถปฏิเสธได้

อย่างไรก็ตาม หากนายจ้างสั่งให้ทำงานจริงในเวลา ดังนี้
1. นอกเวลาทำงานปกติ
2. ในวันหยุด ไม่ว่าจะหยุดประจำสัปดาห์ หยุดตามประเพณี หยุดพักผ่อนประจำปี
3. นอกเวลาทำงานปกติของวันหยุดทั้ง 3 ประเภทในข้อ 2
จะถือเป็นการให้ลูกจ้างทำงาน ตามมาตรา 61 – 64 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แต่การทำงานในวันหยุด นายจ้างไม่ได้จ่ายค่าทำงานในวันหยุด 3 เท่าตามที่กล่าวอ้างมา ตามมาตรา 56 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานสำหรับวันหยุดตังต่อไปนี้
(1) วันหยุดประจำสัปดาห์ เว้นแต่ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้าง รายวัน รายชั่วโมง หรือตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(2) วันหยุดตามประเพณี
(3) วันหยุดพักผ่อนประจำปี
มาตรา 61 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา ในวันทำงานให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างอัตราไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน ตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้าง ซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
มาตรา 62 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด ตาม มาตรา 28 มาตรา 29 หรือ มาตรา 30 ให้นายจ้างจ่ายค่าทำ งานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตรา ดังต่อไปนี้

(1) สำหรับลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด ให้จ่ายเพิ่มขึ้นจากค่าจ้างอีกไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้ สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(2) สำหรับลูกจ้างซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด ให้จ่ายไม่น้อยกว่าสองเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตาม จำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่าสองเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้าง ซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
มาตรา 63 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา ในวันหยุด ให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างใน อัตราไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้าง ซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
มาตรา 64 ในกรณีที่นายจ้างมิได้จัดให้ลูกจ้างหยุดงาน หรือจัดให้ลูกจ้างหยุดงานน้อยกว่าที่กำหนดไว้ตาม มาตรา 28 มาตรา 29 และ มาตรา 30 ให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างตามอัตราที่กำหนดไว้ใน มาตรา 62 และ มาตรา 63 เสมือนว่านายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด

ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกองสวัสดิการแรงงาน กลุ่มงานกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน โทร 0 2660 2180 และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.labour.go.th หรือโทร 1546 หรือ 1506 กด 3

ข้อเท็จจริง : ต้องดูเนื้อหาข้อความที่สั่งมา เช่น นายจ้างโทรมาคุยไม่นานเพื่อสั่งงานของวันถัดไป หรือไลน์มาแต่ไม่ได้สั่งให้ทำงานในวันนั้น ๆ จะไม่ถือว่าเป็นการสั่งงาน ในทางกลับกันหากโทรมาสั่งงานและให้ทำให้เสร็จในวันนั้นเลย ถือเป็นการให้ทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด ทั้งนี้ ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง หากลูกจ้างไม่ยินยอมสามารถปฏิเสธได้

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด