จำนวนผู้เข้าชม 29,301,611
ข่าวจริง
ภัยพิบัติ

NOAA เตือน! พายุแม่เหล็กโลก ระดับเล็กน้อยถึงรุนแรง

เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา ดวงอาทิตย์ได้ปลดปล่อยมวลสารโคโรนา (Coronal Mass Ejections: CMEs) ออกมาจำนวน 2 ระลอก ส่งผลให้สามารถตรวจพบพายุแม่เหล็กโลกระดับ G4 (ระดับรุนแรง) ได้ในวันที่ 17 เมษายน 2568 เวลา 03:55 น. ตามเวลาประเทศไทย ซึ่งเป็นเรื่องปกติของ CMEs ที่หลังจากปลดปล่อยมวลแล้วจะใช้เวลาประมาณ 1-3 วัน มวลสารถึงจะมาถึงยังโลก อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากการตรวจวัดลมสุริยะอย่างต่อเนื่องบ่งชี้ว่า ความรุนแรงของพายุแม่เหล็กโลกเริ่มอ่อนตัวลง แต่ยังคงมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดพายุแม่เหล็กโลกระดับ G1 ถึง G3 (เล็กน้อยถึงรุนแรง) ต่อไป ทั้งนี้ จะทำให้เกิดผลกระทบ 3 ประเด็น

1. แสงออโรราที่ปรากฏสว่างชัดเจน (เฉพาะพื้นที่ละติจูดสูง-ใกล้ขั้วโลก)
สนามแม่เหล็กโลกจะเบี่ยงให้อนุภาคมีประจุไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์เหล่านี้ลงมาสู่บรรยากาศโลกบริเวณใกล้ขั้วโลก เมื่ออนุภาคมีประจุดังกล่าวชนเข้ากับอนุภาคแก๊สในบรรยากาศชั้นบนของโลก อนุภาคแก๊สจะปล่อยพลังงานในรูปของแสง เกิดเป็นแสงเหนือ-แสงใต้ (Aurora) ที่ปรากฏชัดเจนเหนือประเทศแถบละติจูดสูง หรือใกล้ขั้วโลก

2. ความเสี่ยงต่อระบบส่งไฟฟ้า และไฟดับเป็นบริเวณกว้าง (เฉพาะพื้นที่ละติจูดสูง-ใกล้ขั้วโลก)
ฝูงอนุภาคมีประจุใน CMEs ที่รบกวน-ปะทะเข้ากับสนามแม่เหล็กโลก ทำให้เกิดความปั่นป่วนในสนามแม่เหล็กโลก ซึ่งเรียกว่า “พายุแม่เหล็กโลก (Geomagnetic storm)” ซึ่งความปั่นป่วนของสนามแม่เหล็กโลกจะสามารถเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าที่พื้นผิวโลก หากกระแสไฟฟ้าเพิ่มเติมส่วนนี้เข้าสู่ระบบส่งไฟฟ้า จะทำให้หม้อแปลงเกิดความเสียหาย และสามารถทำให้เกิดไฟดับเป็นบริเวณกว้าง เช่น ไฟดับนาน 9 ชั่วโมง ทางภาคตะวันออกของแคนาดา เมื่อปี ค.ศ. 1989

Web2

3. ความเสี่ยงต่อระบบดาวเทียม และระบบนำทาง
เมื่อฝูงอนุภาคมีประจุใน CMEs มาปะทะเข้ากับดาวเทียม สามารถทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรที่ตัวดาวเทียม จนดาวเทียมเสียหายได้ และเกิดความเสี่ยงต่อเนื่องถึงระบบนำทาง-ระบุพืกัดตำแหน่ง (เช่น GPS) ที่ต้องใช้เครือข่ายดาวเทียมหลายดวงขณะที่ “การลุกจ้าบนดวงอาทิตย์” (Solar Flare) ซึ่งเป็นการปะทุปล่อยรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เข้มข้นจากพื้นผิวดวงอาทิตย์ ที่เกิดขึ้นพร้อมกับ CMEs ในทั้งนี้ จะส่งผลกระทบต่อการสื่อสารทางวิทยุในแบบ “สภาวะสัญญาณคลื่นวิทยุขาดหายชั่วคราว” (Radio blackout)

จากเหตุการณ์ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น จะไม่ส่งผลกระทบถึงไทย และหากต้องการติดตามข่าวสารและข้อมูลเกี่ยวกับพายุแม่เหล็กโลก สามารถติดตามได้ได้ทางเพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ https://www.facebook.com/NARITpage

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด