ผู้ป่วยอหิวาตกโรคที่มีอาการรุนแรงมักถ่ายอุจจาระมีสีเหมือนน้ำซาวข้าว โดยวิธีการตรวจยืนยันการเป็นอหิวาตกโรคทำได้จากการส่งอุจจาระตรวจทางห้องปฏิบัติการ แต่การถ่ายอุจจาระเป็นน้ำซาวข้าวไม่จำเป็นต้องเป็นอหิวาตกโรคเสมอไป เพราะอุจจาระที่มีลักษณะคล้ายน้ำซาวข้าวนั้นสามารถเกิดจากโรคต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียหรือการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ เช่น โรคบิด โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียบางชนิด
สำหรับการป้องกันอหิวาตกโรค ทำได้โดยให้ยึดหลัก “สุก “สุก สะอาด”
– ล้างมือด้วยสบู่และน้ำให้สะอาดทุกครั้งก่อนหยิบจับอาหาร ก่อนชงนมให้เด็ก ก่อนและหลังดูแลผู้ป่วย หลังเข้าห้องน้ำ หลังสัมผัสสิ่งสกปรกและสัตว์เลี้ยง
– กินอาหารปรุงสุกใหม่ ไม่กินอาหารดิบ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ
– อาหารปรุงสุกที่เก็บไว้นานเกิน 2 ชม. ต้องอุ่นร้อนให้ทั่วถึงก่อนกินทุกครั้ง
– เลือกดื่มน้ำต้มสุก (น้ำเดือดปุดๆ นานอย่างน้อย 1 นาที) หรือน้ำดื่มน้ำดื่มบรรจุขวดที่มีเครื่องหมาย อย. ฝาปิดสนิท บรรจุภัณฑ์ไม่มีรอยรั่ว หากดื่มน้ำจากเครื่องกรองน้ำหรือตู้กดน้ำต้องมั่นใจว่าเครื่องกรองน้ำมีมาตรฐานและผ่านการตรวจสอบคุณภาพไส้กรองเป็นประจำเพื่อความปลอดภัย
– น้ำแข็งบริโภคต้องสะอาดมีมาตรฐาน ถุงที่บรรจุน้ำแข็งต้องไม่มีรอยรั่วฉีกขาด มีเครื่องหมาย อย. และมีข้อความ “น้ำแข็งใช้รับประทานได้”
– ล้างผัก ผลไม้ให้สะอาดก่อนกิน
– แยกใช้ภาชนะอุปกรณ์ในการรับประทานอาหารส่วนตัวไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น เช่น ช้อน แก้วน้ำ และต้องล้างตัวยน้ำสะอาดและน้ำยายาล้างผลิตภัณฑ์คว่ำ หรือผึ่งให้แห้ง หรือตากแดดเพื่อฆ่าเชื้อ
– หมั่นดูแลรักษาความสะอาดห้องส้วมด้วยน้ำยาทำความสะอาดและไม่ถ่ายนอกห้องส้วม