จำนวนผู้เข้าชม 29,242,709

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ผลิตภัณฑ์ LUTA ช่วยบำรุงสายตา ชะลอความเสื่อมของจอประสาทตา ต้านอาการอักเสบ บรรเทาอาการตาแห้ง และช่วยกรองแสงสีฟ้าได้

ตามที่มีโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับประเด็นเรื่องผลิตภัณฑ์ LUTA ช่วยบำรุงสายตา ชะลอความเสื่อมของจอประสาทตา ต้านอาการอักเสบ บรรเทาอาการตาแห้ง และช่วยกรองแสงสีฟ้าได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีการบอกต่อข้อมูลโดยระบุว่าผลิตภัณฑ์ LUTA ช่วยบำรุงสายตา ชะลอความเสื่อมของจอประสาทตา ต้านอาการอักเสบ บรรเทาอาการตาแห้ง และช่วยกรองแสงสีฟ้าได้ ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าผลิตภัณฑ์ฉลากระบุ Luta ดังกล่าว ขออนุญาตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในชื่อ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ลูต้า (ตราแท็พ) / Luta Dietary Supplement Product (TaaP Brand) เลขอย. 74-1-18761-5-0264 ซึ่งในการยื่นขออนุญาต ไม่มีการยื่นข้อมูลประสิทธิผลตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด

ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่มีผลในการบำบัด บรรเทา หรือรักษาโรค และต้องแสดงคำเตือนดังกล่าวบนฉลาก และการแสดงข้อความช่วยบำรุงอาการตาบอดกลางคืน ช่วยอาการเมื่อยล้าของดวงตา ชะลอความเสื่อมของจอประสาทตา ต้านอาการอักเสบ บรรเทาอาการตาแห้ง และช่วยกรองแสงสีฟ้าได้ เป็นการโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณ ของอาหารอันเป็นเท็จ หรือหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร ซึ่งอย. จะดำเนินการทางกฎหมายกับผู้กระทำการฝ่าฝืนพรบ. อาหาร พ.ศ. 2522 ต่อไป

หากผู้ป่วยหลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมารับประทาน เพื่อหวังผลในการรักษาอาการตาบอดกลางคืน บรรเทาอาการตาแห้ง อาการเมื่อยล้าของดวงตา หรือชะลอความเสื่อมของจอประสาทตา อาจเสียเงินเปล่าและเสียโอกาสในการรักษา ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และการรักษาที่ถูกต้อง

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.fda.moph.go.th หรือหากพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน 1556

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่มีการยื่นข้อมูลประสิทธิผลตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่มีผลในการบำบัด บรรเทา หรือรักษาโรค

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด