เมื่อได้รับข้อมูลข่าวสารใด ๆ ทางสื่อโซเชียล เราต้องพิจารณาให้ดีก่อนส่งต่อเพื่อไม่ให้กลายเป็นผู้ส่งข้อมูลเท็จ วันนี้จึงมีวิธีการตรวจสอบข้อมูลเท็จมาแนะนำให้ทุกท่านทราบ ดังนี้
1. พิจารณารูปภาพ : โพสต์ที่เป็นข้อมูลเท็จมักจะมีรูปภาพหรือวิดีโอที่มีการตัดต่อ บางครั้งรูปภาพอาจเป็นรูปจริง แต่ไม่เกี่ยวข้องกับบริบทของเรื่องราว คุณสามารถนำรูปภาพไปค้นหาเพื่อตรวจสอบว่า รูปภาพเหล่านั้นมาจากที่ไหน เกี่ยวข้องกับเรื่องราวนั้นหรือไม่
2. อย่าเชื่อข้อความพาดหัว : โพสต์ที่เป็นข้อมูลเท็จมักจะมีพาดหัวที่ดูเกินความเป็นจริง มีข้อความที่น่าตื่นตระหนกทำให้ดูน่าสนใจ คุณอย่าเชื่อเพียงข้อความพาดหัวให้อ่านเรื่องราวให้ครบถ้วนก่อน
3. สืบเสาะแหล่งที่มา : ตรวจสอบให้แน่ใจว่า โพสต์ที่เห็นมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ หากมีแหล่งที่มาไม่ชัดเจนหรือไม่น่าเชื่อถือ ให้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งอื่นก่อน
4. สังเกตการจัดรูปแบบ-ภาษาที่ไม่ปกติ : ข้อมูลเท็จส่วนใหญ่มักมีการสะกดคำผิดเป็นจำนวนมากหรือวางรูปแบบตัวอักษรไม่ปกติ ให้ใช้ความระมัดระวังหากเห็นสัญญาณเหล่านี้
5. ตรวจสอบวันที่ : โพสต์ที่เป็นข้อมูลเท็จอาจมีการอ้างถึงวันที่ที่ไม่สมเหตุสมผล หรือมีการเปลี่ยนแปลงวันที่ของเหตุการณ์
6. ตรวจสอบหลักฐาน : ตรวจสอบแหล่งข้อมูลของผู้โพสต์เพื่อยืนยันว่า มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ การขาดหลักฐาน หรือการอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ไม่ชัดเจน อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงข้อมูลเท็จได้
7. เป็นเรื่องตลกหรือไม่ : การแยกแยะข้อมูลเท็จออกจากเรื่องตลกหรือการเสียดสีอาจทำได้ยากหากเราไม่ได้ติดตามเจ้าของโพสต์ การตรวจสอบโดยเข้าไปดูโพสต์อื่น ๆ ของผู้โพสต์ว่ามีลักษณะอย่างไร และคนอื่น ๆ มีปฏิสัมพันธ์กับโพสต์อย่างไรบ้างจะช่วยให้เราเข้าใจเนื้อหาของผู้โพสต์มากขึ้น
8. ดูความจงใจให้ข้อมูลเท็จ : คิดและวิเคราะห์เกี่ยวกับโพสต์ที่คุณเห็นให้ละเอียด และแชร์เฉพาะโพสต์ที่คุณเห็นว่า น่าเชื่อถือเท่านั้น